10 เมนูข้าวหมู อร่อยง่ายไม่น่าเบื่อ พร้อมวิธีหมักหมูนุ่ม

เมนูข้าวหมู อาหารจานเดียวเติมโปรตีนจากเนื้อหมูเน้น ๆ มีทั้งอาหารไทย อาหารญี่ปุ่น และอาหารเกาหลี เลือกทำตามสไตล์ที่ชอบกันได้เลย

พอเอ่ยถึงเนื้อหมู หลายคนมักจับมาทำข้าวผัด อาหารไทย หรือจับมาผัดกับน้ำปลาหรือซีอิ๊ว แม้จะอร่อยแต่กินบ่อยก็เบื่อ วันนี้เราขอแนะนำเมนูข้าวหมู เช่น ข้าวหมูทอด ข้าวหมูกรอบ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกระเทียม พร้อมวิธีหมักหมูนุ่มด้วยวัตถุดิบใกล้ตัว

วิธีหมักหมู

วัตถุดิบหาง่ายที่ช่วยทำให้หมูมีความนุ่มขึ้น ทำอาหารเมนูไหนก็อร่อย มีดังนี้

1. น้ำสับปะรด โซดา ไวน์ เบียร์ โค้ก หรือน้ำอัดลม

วัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้มีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อนำไปหมักจะช่วยทำให้โปรตีนในเนื้อสัตว์เปื่อยยุ่ยและนุ่มขึ้น เมื่อเรานำเนื้อสัตว์ที่หมักแล้วไปทำให้สุก รสสัมผัสของเนื้อที่ได้จะไม่แห้งกระด้าง

2. น้ำมันงา ซอสหอยนางรม ซีอิ๊วขาว และซอสปรุงรส

นอกจากเครื่องปรุงเหล่านี้จะใส่เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติให้กับเนื้อสัตว์แล้ว เครื่องปรุงต่าง ๆ เหล่านี้จะแทรกเข้าไปในเนื้อหมู ทำให้ได้รสสัมผัสที่ดีขึ้นอีกด้วย

3. แป้งมันสำปะหลัง หรือแป้งข้าวโพด

เมื่อนำแป้งลงไปหมักกับเนื้อสัตว์ แป้งเหล่านี้จะไปเคลือบผิวของเนื้อหมู ทำให้เนื้อนุ่มแบบเด้ง ๆ เหมือนหมูในราดหน้านั่นเอง

4. เบกกิ้งโซดา หรือผงฟู

สารเหล่านี้มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ นอกจากจะใช้ใส่เวลาทำขนมเค้กหรือขนมปังให้ขึ้นฟูแล้ว ยังสามารถนำมาหมักหมูให้นุ่มได้ โดยใส่เบกกิ้งโซดาเพียงเล็กน้อยลงไปหมักด้วยก็จะทำให้หมูนุ่มขึ้น แต่อย่าใส่มากเกินไปจะมีกลิ่นของสารเคมี

5. น้ำตาลทราย

เมื่อนำน้ำตาลทรายไปหมักกับหมู พอน้ำตาลทรายละลายแล้วจะแทรกซึมเข้าไปในเนื้อหมู ทำให้เนื้อนุ่ม มีความชุ่มฉ่ำน่ารับประทานยิ่งขึ้น

6. นมสด หรือกะทิ

เมื่อนำเนื้อหมูที่หมักกับนมสดหรือกะทิไปปรุงอาหาร ระหว่างนั้นนมสดหรือกะทิจะซึมออกมาจากเนื้อ ทำให้มีความนุ่ม หอมมันยิ่งขึ้น

7. น้ำมะนาว

น้ำมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อนำไปหมักจะสามารถย่อยเอนไซม์ในเนื้อหมู ทำให้เนื้อหมูนุ่มได้

8. ยางมะละกอ

การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยการนำยางจากก้านมะละกอ หรือขั้วมะละกอ ไปหมักเนื้อหมู ก็จะได้เนื้อหมูที่นุ่มแล้ว แต่ควรระวังอย่าใส่มากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อหมูเปื่อยจนกลายเป็นหมูยุ่ยได้

9. น้ำมันพืช หรือน้ำมันมะกอก

น้ำมันมีความมัน ลื่น และเงางาม เมื่อนำไปหมักกับเนื้อสัตว์แล้วจะช่วยทำให้เนื้อหมูนั้นชุ่มฉ่ำและนิ่มขึ้น

10. ไข่ขาว หรือไข่ไก่

สารในไข่ไก่จะเข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยโปรตีนในเนื้อหมู ทำให้เนื้อหมูนิ่มมากแต่ไม่ยุ่ย

11. หอมใหญ่

วิธีนี้ทำง่าย ๆ โดยการสับหอมใหญ่ให้ละเอียดแล้วใส่ลงไปรวมกับเนื้อ เพราะในหอมใหญ่ดิบจะมีเอนไซม์ที่จะช่วยทำให้เนื้อนิ่มขึ้น แต่ก็ต้องใช้เวลาในการหมักเป็นชั่วโมง

ข่าวอาหาร-ล่าสุด-2566

เมนูข้าวหมู

1. ข้าวหมูทอดซอสเทอริยากิ
ข้าวหมูทอดซอสเทอริยากิ อาหารญี่ปุ่นโฮมเมดสุดง่าย จับหมูหมักกับเครื่องปรุงแล้วทอดในหม้อทอดจนสุก สุดท้ายราดซอสเทอริยากิ ถ้าโรยงาและเพิ่มไข่ดาวอีกสักฟองคงจะฟินไปอีก สูตรจาก คุณหมีซี้ด สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

2. ข้าวหมูทอดซอสผัดเปรี้ยวหวาน
ข้าวหมูทอดซอสผัดเปรี้ยวหวานรสเด็ด สูตรจาก คุณ BlackPiano สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม เริ่มจากทอดหมูชุบแป้งทอดจนสุกกรอบ มาพร้อมซอสผัดเปรี้ยวหวานใส่ผักและผลไม้หลากชนิด เมนูนี้เด็ก ๆ กินได้สบายเลย

3. ข้าวหมูทอดทงคัตสึ
ข้าวหมูทอดทงคัตสึกรอบนุ่มสไตล์ญี่ปุ่น จับหมูชิ้นหมักกับเกลือและพริกไทย ก่อนทอดชุบเกล็ดขนมปังเพื่อความกรอบ แกล้มกับกะหล่ำปลีและแครอตซอย ราดซอสทงคัตสึฉ่ำ ๆ

4. ข้าวหมูทอดซอสผัดฉ่า
ข้าวหมูทอดซอสผัดฉ่ารสแซ่บ เริ่มจากหมักหมูสับกับกระเทียมและพริกไทยแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ชุบกับน้ำแป้งและเกล็ดขนมปัง เสิร์ฟกับซอสผัดฉ่าหอมสมุนไพรไทย

5. ข้าวหมูทอดแกงกะหรี่
ข้าวหมูทอดแกงกะหรี่ทำเองฟินแน่นอน เตรียมก้อนแกงกะหรี่ที่ชอบต้มกับผักต่าง ๆ และหมูสับจนสุก ทีเด็ดคือใส่มะม่วงสุกปั่นในแกงกะหรี่เพิ่มรสเปรี้ยวหวาน สุดท้ายราดหมูทอดชุบเกล็ดขนมปัง

6. ข้าวหมูทอดทงคัตสึไข่ข้น
ข้าวหมูทอดทงคัตสึไข่ข้นอร่อยคูณสอง เริ่มจากทำหมูทอดคลุกเกล็ดขนมปัง เอาไปทอดจนสุกกรอบแล้วหั่นชิ้นให้สวยงาม เสิร์ฟกับไข่ข้นนุ่ม ๆ ราดซอสฮายาชิ

7. ข้าวหมูกรอบ
ข้าวหมูกรอบ นำหมูสามชั้นหมักให้เรียบร้อยแล้วตากแดดหรืออบจนแห้ง มาพร้อมเคล็ดลับการทอดแบบกรอบนุ่มและน้ำราดหอมเครื่องสมุนไพรจีนและงาขาวคั่วบด

8. ข้าวหน้าหมู
ข้าวหน้าหมู เมนูดงบุริยอดนิยม เริ่มจากหมักหมูกับเกลือและพริกไทย จากนั้นก็นำไปชุบเกล็ดขนมปังแล้วทอดจนสุกกรอบ แล้วเอาไปเคี่ยวกับน้ำซุปดาชิ สุดท้ายราดไข่คนลงไปจนทั่ว และราดซอสทงคัตสึปิดท้าย

9. ข้าวหน้าหมูสามชั้นย่าง
ข้าวหน้าหมูสามชั้นย่างกลิ่นหอม เริ่มจากนำหมูสามชั้นไปย่าง พอย่างจนสุกก็ทาน้ำซอสสูตรพิเศษให้ทั่ว โปะข้าวสวยร้อน ๆ แต่งด้วยต้นหอมซอย

10. ข้าวหน้าหมูสไลซ์ซอสเทอริยากิ
ข้าวหน้าหมูสไลซ์ซอสเทอริยากิเคี้ยวนุ่ม ใส่หอมใหญ่กับต้นหอม ปรุงรสด้วยซอสเทอริยากิ ตอกไข่ราดลงไปเป็นไข่ข้น แต่งด้วยงาขาว

แนะนำข่าวอาหาร อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : แอฟลาทอกซินในขนมจันอับ

แอฟลาทอกซินในขนมจันอับ

ขนมจันอับหรือขนมแต้เหลี้ยว คนจีนมักทานคู่กับน้ำชาในวันมงคล เช่น การไหว้เจ้าในเทศกาลต่างๆ และงานแต่งงาน

โดยเฉพาะเทศกาลตรุษจีนขนมจันอับนับเป็นขนมที่ต้องมีสำหรับไหว้เจ้า ส่วนประกอบหลักของขนมจันอับ คือ ถั่วตัด งา ข้าวพอง ถั่วลิสงเคลือบน้ำตาลสีขาว-แดง และฟักเชื่อม หากผู้ผลิตใช้วัตถุดิบถั่วลิสง งา ข้าวพอง ถั่วต่างๆที่ไม่มีคุณภาพ หรือเก็บรักษาไว้ไม่ดี เช่น เก็บในที่เปียกชื้น ไม่สะอาดก่อนนำมาผลิตเป็นขนมจันอับ ก็อาจทำให้มีสารพิษจากเชื้อรา ได้แก่ แอฟลาทอกซินปนเปื้อนได้ แอฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่มักพบปนเปื้อนในเมล็ดธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวสาลี ถั่วลิสง และอาหารแห้ง เช่น มะพร้าวแห้ง สมุนไพร เครื่องเทศต่างๆ

ขนมจันอับ

อาหารที่เราทานประจำวัน ไม่ควรพบสารพิษชนิดนี้ปนเปื้อน เพราะมันเป็นสารก่อมะเร็ง ส่วนใหญ่ทำให้เกิดมะเร็งตับ และในอวัยวะอื่นๆ เช่น ไต ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน หากเราได้รับสารพิษชนิดนี้เข้าไปปริมาณมาก หรือแม้ปริมาณน้อยแต่ได้รับเป็นประจำ อาจสะสมในร่างกายจนทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก ตับถูกทำลาย หัวใจและสมองบวมได้ ตามกฎหมายไทยประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 414 พ.ศ.2563 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน กำหนดให้อาหารมีสารแอฟลาทอกซินปนเปื้อนได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม

ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างขนมจันอับ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 4 ร้านค้า และ 1 ยี่ห้อ ที่วางขายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์สารแอฟลาทอกซินปนเปื้อน ผลปรากฏว่า ทั้ง 5 ตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของสารแอฟลาทอกซินเลย

อ่านข่าวเพิ่มเติม : สีผสมอาหารในไข่กุ้ง

สีผสมอาหารในไข่กุ้ง

ปัจจุบันทุกย่านการค้า ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สตรีทฟู้ด ล้วนต้องมีร้านอาหารญี่ปุ่น

ร้านซูชิ แทบทุกร้านต้องมีเมนูที่มีไข่กุ้งเป็นส่วนประกอบ แทงมวยพักยก  เช่น ซูชิหน้าไข่กุ้ง แคลิฟอร์เนียโรล ข้าวหน้าไข่กุ้ง ไข่กุ้งที่ขายในบ้านเรานั้นไม่ได้ทำมาจากไข่กุ้ง ทว่าทำมาจากไข่ของปลาบินที่มีสีส้มแดง หรือไข่ของปลาไข่ที่มีสีส้มซีด ผู้ผลิตหรือผู้ขายบางรายอาจย้อมสีอื่นๆ เพื่อให้ไข่กุ้งดึงดูดใจผู้บริโภค หากย้อมสีจากธรรมชาติ เช่น สีเขียวจากวาซาบิ สีดำจากหมึกของปลาหมึก ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่หากใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ ขอให้ระวังอันตรายกันนิด แม้ตามกฎหมายของไทยจะอนุญาตให้ใช้ได้ แต่หากใช้ปริมาณมากเกินไป หรือเกินที่กฎหมายกำหนดจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบดูดซึมอาหาร ทำลายระบบน้ำย่อยในกระเพาะ หากสะสมเป็นระยะเวลานาน อาจทำร้ายตับและไต

อาหาร

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างไข่กุ้งจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านอาหารญี่ปุ่น ย่านต่างๆในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์สีผสมอาหารสังเคราะห์ 8 ชนิด คือ อโซรูบีน/คาร์โมอีซีน, บริลเลียนท์บลู เอฟซีเอฟ, เออริโธรซิน, ฟาสต์ กรีน เอฟซีเอฟ, อินดิโกติน, ปองโซ 4 อาร์, ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ และตาร์ตราซีน ผลปรากฏว่า พบการใช้สีปองโซ 4 อาร์ (สีแดง) ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ (สีเหลือง) ในตัวอย่างไข่กุ้ง และมีอยู่ 2 ตัวอย่าง ที่พบสีซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ เกินค่ามาตรฐาน ตามมาตรฐานไทยกำหนดให้ใช้สีซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ ในไข่ปลาได้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขอแนะว่าทานได้แต่อย่าทานมากเพื่อความปลอดภัยของร่างกาย.